top of page

มาทำความรู้จัก KPIs vs OKRs กับ MindDoJo กันดีกว่า


เนื่องจากอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การทำกลยุทธ์หลังปี 2020 จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงและอัปเดต รวมไปถึงเปลี่ยนกรอบความคิดของคน ซึ่งบางครั้งความแตกต่างระหว่าง KPIs vs OKRs  ก็มีผลในการดำเนินงานและ Culture ขององค์กร เพราะการทำงานของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน  KPIs อาจจะเหมาะกันคนบางกลุ่ม และ OKRs อาจจะเหมาะกับคนอีกหนึ่งกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่ OKRs จะถูกปรับใช้กับคนรุ่นใหม่ เนื่องจากคนรุ่นใหม่บางกลุ่มต้องการอิสระในวิธีการที่จะไปถึง Goal

มาทำความรู้จัก KPIs vs OKRs กับ MindDoJo กันดีกว่า

เนื่องจากอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การทำกลยุทธ์หลังปี 2020 จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงและอัปเดต รวมไปถึงเปลี่ยนกรอบความคิดของคน ซึ่งบางครั้งความแตกต่างระหว่าง KPIs vs OKRs ก็มีผลในการดำเนินงานและ Culture ขององค์กร เพราะการทำงานของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน

KPIs อาจจะเหมาะกันคนบางกลุ่ม และ OKRs อาจจะเหมาะกับคนอีกหนึ่งกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่ OKRs จะถูกปรับใช้กับคนรุ่นใหม่ เนื่องจากคนรุ่นใหม่บางกลุ่มต้องการอิสระในวิธีการที่จะไปถึง Goal


วันนี้ MindDoJo มี 3 ความแตกต่างระหว่าง KPIs vs OKRs ที่ใช้การวัดผลประเมินผลต่างกัน มีอะไรบ้างมาดูไปพร้อม ๆ กันเลย


ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักก่อนดีกว่าว่า OKRs และ KPIs คืออะไร


OKRs (Objectives and Key Results)คืออะไร?

ต้องบอกก่อนว่า OKRs ไม่ใช่ของใหม่ เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นราว ๆ ปี 1970 องค์กรที่นำมาใช้องค์กรแรกคือ Intel โดย Andy Grove แต่ไม่ถูกพูดถึงเท่ากับการนำ OKRs มาใช้ขององค์กรยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Google ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากกับการนำเอาแนวคิดนี้มาใช้ จนทำให้เป็น Case Study ที่น่าสนใจกับองค์กรทั่วโลก


หลักสำคัญของ OKRs คือการตั้ง Objective ให้สอดคล้องกับเป้าหมายเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับขององค์กร หรือก็คือสิ่งที่เราตั้งวัตถุประสงค์รวม และทั้งเป้าหมาย (Objectives) ว่าจะทำอะไรบ้าง (What)


ส่วน Key Results ต้องวัดผลได้อย่างชัดเจน มีการติดตามผล และสร้างเป็น Action Plan อย่างชัดเจน หรือวิธีการที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร (How)


KPIs (Key Performance Indicator) คืออะไร?

สิ่งที่พนักงานในองค์กรรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่ง KPIs เป็นเมตริกเฉพาะหรือการวัดเชิงปริมาณ ที่องค์กร ทีม หรือบุคคลนำมาใช้เพื่อประเมิน และติดตามผลการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และวัตถุประสงค์


โดย KPIs เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการประเมินความสำเร็จของกิจกรรม และกระบวนการต่าง ๆ ภายในองค์กร โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความคืบหน้าโดยรวม KPIs อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม เป้าหมายขององค์กร และแผนกหรือทีมที่ต้องการวัดผล

ตัวอย่างเช่น ทีมขายอาจใช้ KPIs ในการวัดรายได้ต่อเดือน อัตรา Conversion หรือต้นทุนการได้มาซึ่งลูกค้า ในขณะที่ทีมสนับสนุนลูกค้าอาจติดตาม KPIs เช่น เวลาตอบสนองเฉลี่ย หรือคะแนนความพึงพอใจของลูกค้า


การเลือก KPIs ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรยังคงมุ่งเน้นไปในสิ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จอย่างแท้จริง และช่วยระบุจุดที่ต้องปรับปรุง การตรวจสอบและวิเคราะห์ KPIs เป็นประจำ ทำให้องค์กรสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล และดำเนินการแก้ไขเมื่อจำเป็น ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผล


ด้วยหลักสำคัญนี้จึงทำให้ OKRs มีความแตกต่างกับ KPIs โดยสรุปออกมาได้ง่าย ๆ 3 ประการ ดังนี้


1. OKRs ไม่ใช่แค่ระบบการประเมินผล แต่ … OKRs เป็นการทำเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ช่วยชี้นำแนวทางให้กับบุคลากรและองค์กร ไม่ควรนำมาใช้ในการตัดสินเพื่อขึ้นเงินเดือนหรือให้โบนัส แตกต่างกับ KPIs ที่ใช้ในการตัดสินสิ่งเหล่านี้ตามผลงานที่ทำได้   ทั้งนี้การวัดผลเพื่อพัฒนา จะช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดที่คนในองค์กรมักจะมองว่า การทำผลงานเพื่อรางวัลตอบแทน เป็นการทำผลงานเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง   สุดท้ายแล้วจะนำมาซึ่งความสำเร็จขององค์กร จนส่งผลต่อรางวัลของตนเองด้วยเช่นกัน

1. OKRs ไม่ใช่แค่ระบบการประเมินผล แต่ …

OKRs เป็นการทำเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ช่วยชี้นำแนวทางให้กับบุคลากรและองค์กร ไม่ควรนำมาใช้ในการตัดสินเพื่อขึ้นเงินเดือนหรือให้โบนัส แตกต่างกับ KPIs ที่ใช้ในการตัดสินสิ่งเหล่านี้ตามผลงานที่ทำได้


ทั้งนี้การวัดผลเพื่อพัฒนา จะช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดที่คนในองค์กรมักจะมองว่า การทำผลงานเพื่อรางวัลตอบแทน เป็นการทำผลงานเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง


สุดท้ายแล้วจะนำมาซึ่งความสำเร็จขององค์กร จนส่งผลต่อรางวัลของตนเองด้วยเช่นกัน


2. การกำหนด OKRs ไม่ได้มาจากผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียว KPIs มักจะถูกกำหนดจากมุมมองของผู้บริหาร แต่ OKRs จะมาจากพนักงานด้วยอย่างน้อย 50% ด้วยการระดมความคิดร่วมกัน ระหว่างระดับปฏิบัติการกับระดับบริหาร ซึ่งจะสร้างการมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายได้อย่างชัดเจนจากมุมมองของผู้บริหาร และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนจากมุมมองของพนักงาน   ทุกคนในองค์กรจึงเข้าใจมุมมองเดียวกัน เข้าใจคนอื่นมากขึ้น สร้างความโปร่งใสในการทำงานได้

2. การกำหนด OKRs ไม่ได้มาจากผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียว

KPIs มักจะถูกกำหนดจากมุมมองของผู้บริหาร แต่ OKRs จะมาจากพนักงานด้วยอย่างน้อย 50% ด้วยการระดมความคิดร่วมกัน ระหว่างระดับปฏิบัติการกับระดับบริหาร ซึ่งจะสร้างการมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายได้อย่างชัดเจนจากมุมมองของผู้บริหาร และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนจากมุมมองของพนักงาน


ทุกคนในองค์กรจึงเข้าใจมุมมองเดียวกัน เข้าใจคนอื่นมากขึ้น สร้างความโปร่งใสในการทำงานได้




3. OKRs ท้าทาย แต่ทำได้จริง การวัดผลของ KPIs ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องทำให้ครบ 100% มีความท้าทาย แต่หลายครั้งมีความเป็นไปได้หรืออาจจะทำไม่ได้จริง   แต่ OKRs มีระดับความสำเร็จที่รับได้อยู่ที่ 70-80% สร้างความกล้าที่จะท้าทายเป้าหมายเดิม ๆ นำมาซึ่งความสำเร็จในระยะยาวต่อไป

3. OKRs ท้าทาย แต่ทำได้จริง

การวัดผลของ KPIs ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องทำให้ครบ 100% มีความท้าทาย แต่หลายครั้งมีความเป็นไปได้หรืออาจจะทำไม่ได้จริง


แต่ OKRs มีระดับความสำเร็จที่รับได้อยู่ที่ 70-80% สร้างความกล้าที่จะท้าทายเป้าหมายเดิม ๆ นำมาซึ่งความสำเร็จในระยะยาวต่อไป




ดู 93 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating

สมัครรับข่าวสารใหม่ ๆ 

และทรัพยากร MindDoJo

bottom of page