เราอยู่ในยุคที่เต็มไปด้วยข่าวสาร การตื่นขึ้นมาแต่ละวันมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นมากมาย และการแข่งขันที่ดุเดือดของแบรนด์ดัง การโฆษณาชักจูงให้ผู้บริโภคหันมาสนใจในตัวแบรนด์ หรือสินค้าเป็นเรื่องที่ท้าทายในยุคที่คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
“Storytelling” คือรูปแบบการเล่าเรื่องที่ใช้กระบวนการเล่าเหมือนนิทานหรือเรื่องราวเพื่อ สร้างอารมณ์ร่วมให้คนนั้นสนใจ และจดจำเรื่องราวเหล่านั้นขึ้นมา เหมือนได้เดินทางไปกับเรื่องเล่านั้น แล้วเราจะสามารถเล่าเรื่องแบบ “Storytelling” ได้อย่างไรนั้น วันนี้ MindDoJo มี 7 เทคนิค ที่จะทำให้คุณเล่าเรื่องได้อย่างลื่นไหลและสะกดใจผู้ฟัง
1. รู้จักกลุ่มเป้าหมาย ใครที่ต้องฟังเรื่องที่คุณจะเล่า
เมื่อมีผู้พูดก็ต้องมีผู้ฟัง ก่อนที่เราจะเริ่มต้นเล่าเรื่องหรือคิดเรื่องที่จะเล่า อาจจะต้องคิดก่อนว่าใครคือผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการฟังสิ่งที่เราจะพูด เช่น เมื่อเราพูดถึงประสบการณ์เรื่องการไปเรียนต่อต่างประเทศโดยใช้ทุนการศึกษา เมื่อผู้ฟังได้ฟังเรื่องนี้ก็เกิดแรงบันดาลใจและตั้งเป้าหมาย เตรียมเอกสาร การสอบเพื่อชิงทุน จนทำให้เขาเหล่านั้นสามารถไปเรียนต่อต่างประเทศได้
2. กำหนดประเด็นหลักอย่างชัดเจน
ไม่ว่าเรื่องที่คุณจะเล่านั้นยาวแค่ไหน แต่สิ่งที่คุณต้องมีคือ “ประเด็นหลัก” ที่ทั้งคุณและผู้ฟังสามารถเข้าใจเลยว่าเรากำลังจะขึ้นรถไปลงที่สถานีไหน เช่น คุณพูดถึงเนื้อหาของการเตรียมเอกสาร คุณและผู้ฟังกำลังเห็นภาพว่าเราเตรียมเอกสารเพื่อที่จะไปสมัครเรียนต่อต่างประเทศ
3. กำหนดหมวดหมู่ของเรื่องที่จะพูด
ทุกการเล่าเรื่องแต่ละครั้งไม่ใช่ว่าคุณจะสามารถนำทุกเรื่องที่อยากจะเล่ามายำรวมกัน เช่น คุณกำลังแนะนำหรือโน้มน้าวให้ผู้ฟังนั้นอยากสมัครไปเรียนต่อต่างประเทศผ่านการอ่านหนังสือของคุณ เรื่องที่คุณจะเล่านั้นอาจจะเน้นไปทางด้านการประสบการณ์หรือเรื่องที่คุณต้องเผชิญระหว่างการเตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ ไม่ใช่เน้นแค่ประวัติของคุณเพียงอย่างเดียว
4. กำหนดสิ่งที่จะกระตุ้นให้ผู้ฟังทำอะไรบางอย่าง
แน่นอนว่าการที่เราจะลุกขึ้นมาเขียน หรือเล่านั้น ความต้องการหรือความคาดหวังให้ผู้ฟังทำอะไรสักอย่าง call-to-action (CTA) เช่น การออกมาเขียน หรือเล่าครั้งนี้เราต้องการที่จะกระตุ้นให้ผู้ฟังสั่งซื้อหนังสือของเรา
5. เลือกรูปแบบการเล่าเรื่อง
เราสามารถเล่าเรื่องได้ผ่านการเขียน การพูด การแสดง หรือแม้แต่การร้อง เพราะฉะนั้นการเลือกรูปแบบการเล่าเรื่องนั้นก็สำคัญเช่นกัน เพราะการเล่าเรื่องแต่ละรูปแบบนั้นมีการเตรียมตัวและวางแผนที่ต่างกัน
6. เริ่มต้นวางโครงเรื่อง
เมื่อเรากำหนดทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว มีผู้ฟังที่ชัดเจน มีเป้าหมายในการเล่าเรื่อง และก็มาถึงขึ้นตอนจับปากกา หรือเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาขีด เขียน พิมพ์ หรืออัด เรื่องที่เราจะพูดได้เลย แน่นอนว่าเนื้อเรื่องที่เราเขียนนั้นไม่มีทางที่จะสำเร็จได้ภายในเวลาเพียงแค่หนึ่งวัน เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ ให้เวลากับตัวเองและถ่ายทอดเรื่องราวออกมาให้ได้มากที่สุด
7. บอกให้โลกรู้ว่า “ฉันมีเรื่องเล่า”
ได้เวลาบอกให้โลกรู้ว่า “คุณมีเรื่องจะเล่า” และเป็นเรื่องที่กลุ่มเป้าหมายของคุณจำเป็นต้องฟัง และเกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง คุณสามารถประกาศเรื่องราวของคุณผ่านช่องทาง Facebbok YouTube หรือ Website เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและบอกต่อเรื่องราวของคุณ
コメント