top of page
Agile-Method-Cover.jpg

"หลักสูตรการบริหารจัดการโครงการแบบ Agile ที่หลายองค์กรเลือกนำไปปรับใช้"

การบริหารจัดการโครงการในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างไปจากเดิม จากที่เคยเป็นแบบ Waterfall Method ก็เปลี่ยนเป็นการบริหารจัดการแบบ Agile Method เพราะข้อดีที่สำคัญของการใช้หลักการ Agile เราเรียนรู้จากความผิดพลาดของโครงการได้ไว มองเห็นจุดเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที จึงไม่แปลกที่แนวทางนี้หลายองค์กรเลือกนำไปปรับใช้ในการบริหารจัดการโครงการ​​

Learning-Metodology.png

ประโยชน์สำคัญจากการใช้ Agile Method มีอยู่ 3 ประเด็น ได้แก่

สามารถดำเนินการได้เร็ว ภายใต้ต้นทุนที่ไม่สูงมาก แต่ได้เรียนรู้ผลลัพธ์ที่นำไปพัฒนาโครงการต่อได้ดี

ได้รับ feedback ตลอดเวลาจากการที่ Stakeholder เข้ามามีส่วนร่วม ทำให้ปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว

ส่งมอบงานได้อย่างรวดเร็ว กว่าการดำเนินโครงการแบบเดิม

Solution Outcomes

ผลลัพธ์จากหลักสูตร Agile Project Management

ประยุกต์ใช้ Agile เพื่อการทำงานบริหารโครงการแบบไร้รอยต่อ: ผู้เข้าอบรมสามารถนำสามารถนำแนวคิดแบบ Agile มาใช้ร่วมกับการทำงาน และ การบริหารโครงการ ด้วยการจัดการกับงานของตนที่รับผิดชอบร่วมกับการบริหารโครงการไปพร้อมกันกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เติมเต็มความคาดหวังของโครงการด้วยกระบวนการ Agile: ผู้เข้าอบรมเข้าถึง Agile ในการทำงานอย่างลึกซึ้ง ดึงศักยภาพในการทำงาน เพิ่มการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้่ส่วนเสียพร้อมกับสมาชิกทีมที่มากขึ้น เพิ่มประสิทธิผลของงาน ด้วยเครื่องมือของโลกยุคใหม่ตามความคาดหวังในทิศทางของโครงการและการเติบโตขององค์กร

ใช้เครื่องมือ Agile เพิ่มศักยภาพการทำงานและจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ: ผู้เข้าร่วมสามารถใช้การทำงานแบบ Agile ในการพัฒนากระบวนการบริหารโครงการด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ ที่ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน หรือ ล่าช้าในงานโครงการ ส่งเสริมให้กระบวนการทำงานมีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับปรุงแผนงาน และ รับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้เพื่อให้คนในองค์กรได้ใช้ Agile Method นี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ จำเป็นต้องรู้ก่อนว่า Agile ไม่ใช่วิธีการ แต่ Agile คือ Mindset ที่ทุกคนต้องมี เพื่อใช้ในการบริหารจัดการโครงการ Mindset ที่ว่าคือการพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในโครงการ กล้าที่จะปรับตัวอย่างยืดหยุ่น และพร้อมที่จะทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งกลุ่มผู้สร้างแนวคิดแบบ Agile นี้ได้ทำการแถลงการณ์ (Agile Manifesto) ออกมาเป็นเอกสารสั้นๆ ที่ระบุถึง 4 ค่านิยมหลัก (4 Core Values of Agile) และ 12 หลักการ (Agile Principles) เพื่อใช้เป็นแนวคิดหลักให้ผู้ใช้งานได้ปรับไปใช้ในทีม

ส่วนวิธีการดำเนินการแบบ Agile นั้นจะถูกเรียกว่า Scrum Framework ซึ่งเป็นกรอบการทำงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในแนวคิด Agile ใช้สำหรับการจัดการโครงการที่มีความซับซ้อนหรือที่ต้องปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว โดย Scrum จะเน้นการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ การสื่อสารด้วยเครื่องมือที่เปิดเผยทุกคนรับรู้รับทราบ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายในกรอบระยะเวลาสั้นๆ (Sprint) เพื่อส่งมอบงานที่มีคุณค่าและใช้งานได้จริง

ขั้นตอนและกระบวนการการเรียนรู้: Agile Project Management

Agile-Scrum-Framework.jpg

Agile Scrum Framework

โดยวิทยากร  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

Tanachot-Meekangwan-(Web).jpg
Naruemon-Lomkhong-(Web).jpg

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

bottom of page