top of page
รูปภาพนักเขียนMindDoJo Thailand

5 วิธีการมองปัญหาให้ต่างจากเดิม

"อีกแค่ 3 วันก็จะสอบแล้ว ยังไม่ได้เตรียมตัวเลย รอบนี้ต้องทำคะแนนให้ผ่านด้วย ต้องอ่านหนังสือจนหัวหมุนแน่ ๆ ทำยังไงดีนะ" ปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับนักเรียน นักศึกษาหลาย ๆ คน แต่จะทำยังไงก็แก้ปัญหานี้ไม่ได้สักที


บางทีการโฟกัสกับปัญหาด้วยมุมมองเดิม ๆ ก็จะได้แค่วิธีการแก้ไขปัญหาแบบเดิม ซึ่งวันนี้อาจารย์โรเบิร์ตจะพาทุกคนชวนคิด ให้ออกจากกรอบความคิดเดิม ๆ เพื่อทำให้เจอปัญหาที่สามารถแก้ได้ง่ายขึ้น ด้วยแนวคิด 5 วิธี การมองปัญหาให้ต่างจากเดิม

เราจะมาดูกันว่าจากปัญหา ‘มีเวลาในการอ่านหนังสือเตรียมสอบแค่ 3 วัน และต้องทำคะแนนให้ผ่านเกณฑ์’ สามารถมองให้ต่างจากเดิมยังไงได้บ้าง



1. การมองนอกกรอบ คือ การเลือกใช้วิธีการอื่นที่แปลก แหวกแนวจากเดิม ไม่มุ่งเป้าแก้ไขปัญหานั้นโดยตรง แต่สามารถให้ผลลัพธ์ที่คล้ายกันได้ ตัวอย่าง ลองมาฟัง Podcast เนื้อหาความรู้แทนการนั่งอ่านอย่างเดียว หรือ เปลี่ยนจากการอ่าน มาเป็นการลงมือทำแทน ฝึกทำโจทย์ ทำข้อสอบเก่า แค่นี้ก็ได้วิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ ได้แล้ว

1. การมองนอกกรอบ คือ การเลือกใช้วิธีการอื่นที่แปลก แหวกแนวจากเดิม ไม่มุ่งเป้าแก้ไขปัญหานั้นโดยตรง แต่สามารถให้ผลลัพธ์ที่คล้ายกันได้ ตัวอย่าง ลองมาฟัง Podcast เนื้อหาความรู้แทนการนั่งอ่านอย่างเดียว หรือ เปลี่ยนจากการอ่าน มาเป็นการลงมือทำแทน ฝึกทำโจทย์ ทำข้อสอบเก่า แค่นี้ก็ได้วิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ ได้แล้ว


2. การมองเป้าหมายใหม่ คือ การหาสาเหตุที่เกี่ยวข้อง นำมากำหนดเป้าหมายใหม่ เพื่อการทำงานที่ง่ายขึ้น แต่ให้ผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้เหมือนกัน ตัวอย่าง จากการนั่งอ่านเนื้อหาทั้งหมดภายใน 3 วัน ลองเปลี่ยนเป้าหมายเป็น เราจะจัดกลุ่มเนื้อหาที่จะสอบให้ดี และแบ่งเป็น 3 ชุดเพื่ออ่านในแต่ละวัน ดังนั้นเป้าหมายจะเป็น อ่านเนื้อหา 3 ชุดในแต่ละวัน แทนการอ่านเนื้อหาทั้งหมดจนเกิดความกดดันกับตัวเอง



3. การมองไปที่จุดสำคัญ คือ การหาคีย์หลักของปัญหาที่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้ และโฟกัสกับการแก้ไขปัญหาหลักนั้น ตัวอย่าง เราลองสังเกตว่าคุณครูเน้นเนื้อหาส่วนไหน สัดส่วนคะแนนของเนื้อหาไหนเยอะ และเลือกโฟกัสกับส่วนนั้นแทนการอ่านเนื้อหาทั้งหมด


4. มองฝั่งตรงข้ามของปัญหา คือ การเปลี่ยนจุดโฟกัสของปัญหา เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง แต่เราไม่เคยคิดว่าเป็นปัญหามาก่อน เพื่อให้หาวิธีการแก้ไขที่ง่ายขึ้น ตัวอย่าง จากที่มองว่า “มีเวลาในการอ่านหนังสือแค่ 3 วัน เพื่อทำให้สอบผ่าน” แต่หากเรามองตรงข้ามของปัญหาและเปลี่ยนจุดโฟกัสเป็น “เนื้อหาที่ต้องอ่านมีมากเกินไป” เราก็จะพยายามหาแนวทางใหม่ ๆ ที่โฟกัสในการแก้ไขปัญหาจากจำนวนของสิ่งที่อ่านแทน



5. มองในมุมของผู้อื่น คือ การสวมบทความคิดของผู้อื่น มาใช้แนวคิดที่ว่า “ถ้าเป็นเขา เขาจะ…” เพื่อสร้างจุดโฟกัสใหม่ และสามารถหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมได้ ตัวอย่าง ถ้าเป็นคุณครูเลขคนนี้ เขาชอบให้การบ้านแนวพลิกแพลงโจทย์ เพราะฉะนั้นเราจะต้องหาโจทย์แนวนี้มาทำเพิ่ม


5 วิธีการมองข้างต้น บางหัวข้อเราสามารถเอามาใช้ผสมผสานรวมกันได้ เพราะสิ่งที่เราโฟกัสคือ แนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจต้องใช้วิธีการที่ยาก และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาของทุกคนจะได้รับการแก้ไขอย่างแน่นอน

ดู 119 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating

สมัครรับข่าวสารใหม่ ๆ 

และทรัพยากร MindDoJo

bottom of page