top of page
รูปภาพนักเขียนMindDoJo Thailand

5 หลุมพราง! ที่มักขัดขวางการทำงานเป็นทีมที่ดี

5 หลุมพราง! ที่มักขัดขวางการทำงานเป็นทีมที่ดี  หลายครั้งที่ปัญหาเกิดขึ้นในทีม โดยที่คุณเองอาจไม่รู้เลยว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหา อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ

5 หลุมพราง! ที่มักขัดขวางการทำงานเป็นทีมที่ดี หลายครั้งที่ปัญหาเกิดขึ้นในทีม โดยที่คุณเองอาจไม่รู้เลยว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหา อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสิ่งนั้นยังคอยขัดขวางการทำงานในทีม ทำให้ทีมไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ได้บรรลุตามเป้าหมายของทีมที่วางไว้ 5 หลุมพรางที่ว่า มีอะไรบ้างมาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

5 Dysfunctions of a team จากหนังสือของคุณแพททริก เลนซิโอนี่

* 5 Dysfunctions of a team จากหนังสือของคุณแพททริก เลนซิโอนี่



1. การขาดความเชื่อมั่น (Absent of trust)

1. การขาดความเชื่อมั่น (Absent of trust) เมื่อเริ่มสร้างทีมหรือตั้งทีมขึ้นมาเพื่อทำงาน สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นคือ การขาดความเชื่อมั่นว่าทีมหรือสมาชิกนั้นจะมีประสิทธิภาพ ซึ่งความเชื่อมั่นนั้นเป็นสิ่งแรก ๆ ที่ควรสร้างให้เกิดขึ้นในช่วงสร้างหรือตั้งทีมขึ้นมา เพื่อทำให้เกิดการเชื่อมั่น เมื่อเกิดความเชื่อมั่นกับสมาชิกในทีม สิ่งที่ตามมาก็คือจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเกิดความไว้วางใจ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ แต่หากไม่สร้างความเชื่อมั่นตั้งแต่ครั้งแรกที่ตั้งทีม สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือ การกลัวความขัดแย้ง ( Fear of Conflict ) ในทีม




2. กลัวความขัดแย้ง (Fear of Conflict)
2. กลัวความขัดแย้ง (Fear of Conflict) เมื่อทีมไม่เกิดความเชื่อมั่น สิ่งที่เกิดขึ้นคือการกลัวขัดแย้ง ไม่กล้าที่จะพูดคุยกันแบบตรงไปตรงมา ข้อมูลที่จะต้องแบ่งปันกัน อาจเปลี่ยนไปในทิศทางของคนที่มีอิทธิพลกับทีม ทำให้เห็นข้อมูลเพียงด้านเดียว ไม่มีความหลากหลายในการคิดงานหรือหาไอเดียใหม่ ๆ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เมื่อทีมทำงานร่วมกัน แต่เราสามารถทำให้ความขัดแย้งเป็นไปในทางบวกได้ เพื่อให้ได้วิธีการและไอเดียใหม่ ๆ สร้างความหลากหลายในงานของทีม และทำให้ทีมบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น แต่หากไม่มีความขัดแย้งหรือกลัวความขัดแย้ง สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป คือ การขาดความมุ่งมั่นในการทำงาน ( Lack of Commitment )




3. ขาดความมุ่งมั่น (Lack of Commitment)


3. ขาดความมุ่งมั่น (Lack of Commitment) การขาดความมุ่งมั่นหรือจุดมุ่งหมายในการทำงานของตนเองหรือสมาชิกในทีม มักทำเกิดสิ่งนี้ขึ้นคือ สมาชิกพลาดกำหนดเวลาในงาน แรงจูงใจในการทำงานไม่มากพอ การรับผิดชอบในงานของทีมน้อยลง ผลลัพธ์ของทีมและการมีส่วนร่วมในทีมน้อยลง ทำให้เป้าหมายของทีมหรือการทำงานของทีม ขาดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมาก ดังนั้น ถ้าเราสร้างให้ทุกคนเชื่อมั่น กล้าที่จะขัดแย้ง ความมุ่งมั่นของสมาชิกในทีมก็จะโฟกัสกับเป้าหมายของทีม ที่จะนำพาทีมไปสู่ความสำเร็จ หากสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากการขาดความมุ่งมั่น คือ การหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ( Aviodance of Accountability )

4. การหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ( Avoidance of Accountability )
4. การหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ (Avoidance of Accountability) สิ่งที่การสร้างทีมมักจะพบเจอบ่อยอย่างมากในการทำงานเป็นทีม คือสมาชิกของทีมทำงานด้วยความสามารถของเขา โดยที่ไม่มีการพูดคุยหรือการแชร์ข้อมูลต่อกัน เมื่อเกิดความผิดพลาดในงานนั้น สมาชิกก็จะโยนความรับผิดชอบต่อหน้าที่นั้นให้กับคนอื่น หรืองานที่จำเป็นต้องทำ สมาชิกในทีมจะหลีกเลี่ยงไม่รับงานนั้น ๆ เพราะเป็นสิ่งที่เมื่อเขาคิดว่าทำไปแล้ว มีแต่จะต้องรับผิดชอบในงานนั้น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถานการณ์นี้เป็นสิ่งที่ขัดขวางการทำงานเป็นทีม ทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน ไม่สร้างคุณภาพของงาน และไม่เกิด Productivity เมื่อความรับผิดชอบต่องานไม่มากพอก็จะไม่สนใจในผลลัพธ์ของการทำงานเป็นทีม ( Inattention to Result ) เป้าหมายที่จะไปถึงอาจจะล่าช้าหรืออาจจะถึงขั้นไม่บรรลุเป้าหมายใหญ่ของทีม

5. ไม่ให้ความสนใจกับผลลัพทธ์ ( Inattention to Result )
5. ไม่ให้ความสนใจกับผลลัพทธ์ (Inattention to Result) ไม่เชื่อมั่น กลัวความขัดแย้ง ขาดความมุ่งมั่น เลี่ยงความรับผิดชอบ สิ่งที่เกิดขึ้นคือสมาชิกไม่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายของทีม สมาชิกในทีมมีการจัดตำแหน่งงานไม่ชัดเจน 1 คนอาจทำงานหลายงานพร้อมกัน และ ทำให้สมาชิกทำงานตัวคนเดียวไม่มีการปรึกษาใคร และอาจตัดสินใจงานของทีมด้วยเหตุผลของตนเอง ทำให้ความพอในผลลัพธ์ของสมาชิกในทีมไม่สูงเท่าที่ควร ผลลัพธ์ของทีมก็จะน้อยลงตามมา และปัญหาที่ตามมาอาจมีสมาชิกในทีมออกไปเรื่อย ๆ






สิ่งทีได้กล่าวมาข้างต้น เรียกได้ว่าเป็นความล้มเหลวอย่างมากในการสร้างทีมที่ดี และนี่คือ 5 สิ่งผิดปกติที่มักจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดสิ่งใดขึ้นมาแล้วมักจะส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา กว่าจะรู้ตัวอีกทีอาจจะสายเกินไปที่จะแก้ปัญหานั้นไปเสียแล้ว รู้ให้ทันก่อนที่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น จะสามารถสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ และพร้อมเผชิญกับปัญหาทุกรูปแบบ อีกทั้งเป้าหมายของทีมก็จะสำเร็จได้ด้วยประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับทีมได้อย่างดีเยี่ยม


“ทีมที่ดีไม่ใช่ทีมที่มีคนที่เก่งที่สุดมารวมกัน แต่เป็นทีมที่มีคนหลากหลายความสามารถ มีจุดแข็งต่างกันมารวมกัน และมีเป้าหมายเดียวกัน นี่แหละคือสุดยอดทีมที่ใคร ๆ ก็อยากจะเข้าร่วม”


Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating

สมัครรับข่าวสารใหม่ ๆ 

และทรัพยากร MindDoJo

bottom of page