top of page

หลัก 6D ของการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ


หลัก 6D ของการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

ถึงแม้ว่าเราบางคนจะชอบทำงานคนเดียวมากขนาดไหน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำงานเป็นทีมนั้นสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง


ซึ่งหากพนักงานทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมจะทำให้ประสิทธิภาพขององค์กรดีขึ้นไปด้วย การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ


นอกจากจะต้องคำนึงถึงเป้าหมายและบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนแล้ว ยังมีสิ่งที่ช่วยให้การทำงานเป็นทีมประสบความสำเร็จมากขึ้นดังนี้



Decide (การตัดสินใจ)  ถ้าหากถามว่าตอนนี้สมาชิกทุกคนในทีมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ หรือไม่ คำตอบของคุณคืออะไร ถ้าหากคำตอบคือ “ไม่” นั่นหมายความว่า ทีมของคุณมีโอกาสที่จะเป็นทีมที่ไม่มีประสิทธิภาพ

Decide (การตัดสินใจ)

ถ้าหากถามว่าตอนนี้สมาชิกทุกคนในทีมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ หรือไม่ คำตอบของคุณคืออะไร ถ้าหากคำตอบคือ “ไม่” นั่นหมายความว่า ทีมของคุณมีโอกาสที่จะเป็นทีมที่ไม่มีประสิทธิภาพ


เพราะหากสมาชิกคนใดคนหนึ่งมีความรู้สึกว่าเขาไม่สำคัญ เป็นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม เขาก็จะทุ่มเทให้กับการทำงานน้อยลง ดังนั้น ทีมควรเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ


Discuss (การพูดคุยกัน การอภิปราย)  ทีมควรมีการพูดคุยกันถึงปัญหาและประเด็นต่าง ๆ กันอย่างเปิดเผย ไม่มีการพูดคุยกันลับหลัง เพราะหากทีมไม่มีความไว้วางใจที่จะพูดคุยกันอย่างเปิดเผย และตรงประเด็น ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะไม่เกิดขึ้น


Discuss (การพูดคุยกัน การอภิปราย)

ทีมควรมีการพูดคุยกันถึงปัญหาและประเด็นต่าง ๆ กันอย่างเปิดเผย ไม่มีการพูดคุยกันลับหลัง เพราะหากทีมไม่มีความไว้วางใจที่จะพูดคุยกันอย่างเปิดเผย และตรงประเด็น ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะไม่เกิดขึ้น


หากเราเป็นผู้นำ ควรจะเปิดโอกาสให้น้องในทีมร่วมแสดงความคิดเห็นและพูดคุยกันได้ โดยไม่ใช้อำนาจของการเป็นหัวหน้ากีดกันการแสดงความคิดเห็นของทีม ไม่ด่วนตัดสินใจโดยยังไม่ได้ฟังความคิดเห็นจากน้องในทีม


Diagnose (การวินิจฉัย) ทีมที่เป็นเลิศมักจะหาทางปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ ๆ ด้วยการทบทวนหรือหารือกันหลังจากได้ลงมือทำงานไปแล้ว เพื่อทำความเข้าใจว่าทำอะไรได้ดี และมีเรื่องใด ที่หากได้รับการปรับปรุงจะทำให้งานได้ผลดียิ่งขึ้น

Diagnose (การวินิจฉัย)

ทีมที่เป็นเลิศมักจะหาทางปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ ๆ ด้วยการทบทวนหรือหารือกันหลังจากได้ลงมือทำงานไปแล้ว เพื่อทำความเข้าใจว่าทำอะไรได้ดี และมีเรื่องใด ที่หากได้รับการปรับปรุงจะทำให้งานได้ผลดียิ่งขึ้น


รวมถึงการวินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต





Do (การลงมือทำ) ส่วนหนึ่งของการวางแผนการทำงานที่สำคัญ คือ การระบุว่าสมาชิกคนใดต้องทำอะไรและเมื่อไหร่ และหาข้อตกลงร่วมกัน



Do (การลงมือทำ)

ส่วนหนึ่งของการวางแผนการทำงานที่สำคัญ คือ การระบุว่าสมาชิกคนใดต้องทำอะไรและเมื่อไหร่ และหาข้อตกลงร่วมกัน


จากนั้นลงมือทำตามแผนและหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน





Debate (การโต้แย้ง) การที่ทีมอนุญาตให้เกิดการโต้แย้ง (productive conflict) ขึ้น จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อทีมต้องตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ

Debate (การโต้แย้ง)

การที่ทีมอนุญาตให้เกิดการโต้แย้ง (productive conflict) ขึ้น จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อทีมต้องตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ


การโต้แย้งระหว่างสมาชิกในทีมนั้นยิ่งมีความจำเป็น สมาชิกจะได้ข้อมูลที่รอบด้านมากขึ้น ส่งผลให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เพียงพอและรอบด้าน




Discipline (มีวินัย) ตัว D ที่ 6 หรือ discipline นี้ถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของทีมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ เพราะหากทีมไม่มีระเบียบวินัย ไม่ทำงานตามแผนและบทบาทหน้าที่ที่ได้มอบหมายกันไปก่อนหน้านี้ ก็จะทำให้ D ที่ผ่าน ๆ มาไม่มีความหมายทันที

Discipline (มีวินัย)

ตัว D ที่ 6 หรือ discipline นี้ถือว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของทีมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ เพราะหากทีมไม่มีระเบียบวินัย ไม่ทำงานตามแผนและบทบาทหน้าที่ที่ได้มอบหมายกันไปก่อนหน้านี้ ก็จะทำให้ D ที่ผ่าน ๆ มาไม่มีความหมายทันที


ทีมควรระลึกอยู่เสมอว่าเป้าหมายของการทำงานเป็นทีมคืออะไร แต่ละคนมีหน้าที่อะไร และทำตามสิ่งที่ได้ตกลงกันไว้



Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating

สมัครรับข่าวสารใหม่ ๆ 

และทรัพยากร MindDoJo

bottom of page