top of page

3 สิ่งที่องค์กรควรทำเพื่อเป็นผู้นำขององค์กรแห่งความยั่งยืน ♻️

3 สิ่งที่องค์กรควรทำเพื่อเป็นผู้นำขององค์กรแห่งความยั่งยืน เมื่อองค์กรเริ่มตื่นตัวจากเป้าหมายที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) หลาย ๆ องค์กรก็ต้องการที่จะเป็นผู้นำในด้านความยั่งยืน (Sustainability) จนเริ่มเกิดการปรับแผนการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อม โดยในกระบวนการของการจัดการความยั่งยืน (Sustainability Management) นี้ MindDoJo ของนำเสนอ 3 สิ่งที่องค์กรควรทำเพื่อเป็นผู้นำขององค์กรแห่งความยั่งยืน
เมื่อองค์กรเริ่มตื่นตัวจากเป้าหมายที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) หลาย ๆ องค์กรก็ต้องการที่จะเป็นผู้นำในด้านความยั่งยืน (Sustainability) จนเริ่มเกิดการปรับแผนการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อม โดยในกระบวนการของการจัดการความยั่งยืน (Sustainability Management) นี้ MindDoJo ของนำเสนอ 3 สิ่งที่องค์กรควรทำเพื่อเป็นผู้นำขององค์กรแห่งความยั่งยืน
1. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement): องค์กรแต่ละแห่งล้วนมีผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้เองเป็นประเด็นที่จำเป็นจะต้องคำนึงเป็นอย่างมาก เนื่องจากความยั่งยืนไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่หมายรวมถึงทุก ๆ คนชีววงองค์กร (Corporate Biophere) เป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ดังคำที่อาจารย์โรส (รสลิน ยูนิพันธุ์) มักกล่าวอยู่เสมอว่า “No man is an island” โดยการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางการผลักดันให้องค์กรเพื่อรักษาคุณค่าของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนร่วมกัน

1. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement): องค์กรแต่ละแห่งล้วนมีผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้เองเป็นประเด็นที่จำเป็นจะต้องคำนึงเป็นอย่างมาก เนื่องจากความยั่งยืนไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่หมายรวมถึงทุก ๆ คนชีววงองค์กร (Corporate Biophere) เป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ดังคำที่อาจารย์โรส (รสลิน ยูนิพันธุ์) มักกล่าวอยู่เสมอว่า “No man is an island” โดยการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางการผลักดันให้องค์กรเพื่อรักษาคุณค่าของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนร่วมกัน


2. การประเมินประเด็นสำคัญในด้านความยั่งยืน (Materiality Assessment): เมื่อกล่าวถึงการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้วก็มักจะต้องมีการประเมินประเด็นสำคัญในด้านความยั่งยืนควบคู่กันไป เพราะการประเมินนี้เป็นการระบุและจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านบวกและลบ ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการกำหนดกลยุทธ์องค์กรและการสื่อสารกลยุทธ์เหล่านั้นไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน


2. การประเมินประเด็นสำคัญในด้านความยั่งยืน (Materiality Assessment): เมื่อกล่าวถึงการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้วก็มักจะต้องมีการประเมินประเด็นสำคัญในด้านความยั่งยืนควบคู่กันไป เพราะการประเมินนี้เป็นการระบุและจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านบวกและลบ ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการกำหนดกลยุทธ์องค์กรและการสื่อสารกลยุทธ์เหล่านั้นไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน

3. การพัฒนากลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Strategy Development): จากความเข้าใจการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการประเมินประเด็นสำคัญในด้านความยั่งยืนแล้วนั้น ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่ผู้นำองค์กรจะต้องนำมาใช้ในการปรับสร้างกลยุทธ์ขององค์กร เพราะเป้าหมายใหม่ที่ใส่ใจความยั่งยืนอาจจะไม่สามารถใช้กระบวนการเดิมได้อีกต่อไป หากเมื่อตระหนักถึงความยั่งยืนแล้ว ก็ต้องยอมรับในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น หากผู้นำไม่ตื่นตัวให้เร็ว เป้าหมายในการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนก็อาจจะไม่สำเร็จก็เป็นได้


3. การพัฒนากลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Strategy Development): จากความเข้าใจการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการประเมินประเด็นสำคัญในด้านความยั่งยืนแล้วนั้น ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่ผู้นำองค์กรจะต้องนำมาใช้ในการปรับสร้างกลยุทธ์ขององค์กร เพราะเป้าหมายใหม่ที่ใส่ใจความยั่งยืนอาจจะไม่สามารถใช้กระบวนการเดิมได้อีกต่อไป หากเมื่อตระหนักถึงความยั่งยืนแล้ว ก็ต้องยอมรับในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น หากผู้นำไม่ตื่นตัวให้เร็ว เป้าหมายในการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนก็อาจจะไม่สำเร็จก็เป็นได้


ในปัจจุบันความยั่งยืนกลายเป็นความท้าทายใหม่ของทุก ๆ องค์กร และแน่นอนว่าองค์กรต่าง ๆ อาจจะต้องการความช่วยเหลือในด้านนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น MindDoJo เป็นพาร์ทเนอร์อย่างเป็นทางกับ III Muses  ผู้เชี่ยวชาญพร้อมทั้งเครือข่ายในการขับเคลื่อนความยั่งยืนในองค์กรมาเป็นเวลานาน และช่วยเหลือองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ของไทยให้บรรลุการสร้างความยั่งยืนยืนมามากมาย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางการสร้างความยั่งยืน

Commentaires

Noté 0 étoile sur 5.
Pas encore de note

Ajouter une note

สมัครรับข่าวสารใหม่ ๆ 

และทรัพยากร MindDoJo

bottom of page