Effective Communication
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ สื่อสารอย่างไรให้ตรงใจคนในองค์กร? สื่อสารเป็น, เห็นงานเยี่ยม
-
เนื้อหา & กรณีศึกษา 30%
-
บทบาทสมมติและสถานการณ์จำลอง 70%
-
ผู้บริหาร
-
หัวหน้าสายงาน
จำนวนผู้เข้าร่วม
20 คน
ใคร ๆ ก็ทราบกันดีกว่าความสำเร็จขององค์กรต้องเกิดจากการทำงานร่วมกันของทุก ๆ ทีมและทุก ๆ แผนก แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้องทำงานในยุคดิจิทัลกลับทำให้ความร่วมมือของคนเกิดขึ้นได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นเพราะคนมีความหลากหลาย นโยบายขององค์กรที่ทำงานได้ทุกที่ หรือแม้กระทั่งคนลาออกจากงานบ่อยจนทำให้การทำงานร่วมกันไม่เกิดขึ้นสักที แต่อย่างไรก็ตามทุกคนรู้กันดีว่า “การสื่อสาร” จะช่วยแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ เรื่องง่าย ๆ ที่ทุกคนรู้แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้ MindDoJo เข้าใจปัญหาที่ทุก ๆ องค์กรกำลังเผชิญ หลักสูตรนี้จึงจะช่วยทำให้องค์กรเพิ่มความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคคลจนไปถึงระหว่างแผนก ที่จะช่วยลดการทำงานแบบแยกส่วน เพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพของการทำงานผ่านความเข้าใจการสื่อสารและเทคนิคแนวทางต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อคนในองค์กร
ทำไมทุกองค์กรต้องเรียนหลักสูตรนี้:
Solution Outcomes
ผลลัพธ์จากหลักสูตรการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยทำให้คนในองค์กรมีทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อดึงศักยภาพการทำงานของคนในองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonnal Communication) ที่ดีมากยิ่งขึ้น: เข้าใจซึ่งกันและกัน และเป็นการสื่อสารที่มีความหมายและเคารพผู้ฟังในเวลาเดียวกัน
การสื่อสารแบบทีม (Team Commnucation) ที่เข้าใจกันมากยิ่งขึ้น: ทำให้การสื่อสารแบบทีมมากยิ่งขึ้น และตรงกับความต้องการของสายงาน
การสื่อสารระหว่างแผนก (Interdepartmental Communication) ที่เป็นหนึ่งเดียว: ลดการทำงานแบบแยกส่วน (Silo) และทำให้การทำงานระหว่างสายงานราบเรียบมากยิ่งขึ้นเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเดียวกัน
ขั้นตอนและกระบวนการการเรียนรู้: Effective Communication
เวลา | เนื้อหาและกิจกรรม |
---|---|
09:00 - 10:15 | เข้าใจอุปสรรคและความท้าทายในการสื่อสาร (ของผู้เข้าอบรมแต่ละคน) ในองค์กรผ่านองค์ประกอบของการสื่อสารทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ผู้ส่งสาร (Sender) ข้อความ (Message) ช่องทาง (Channel) และผู้รับสาร (Reciever) พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงที่แต่ละองค์กรเผชิญแตกต่างกัน |
10:30 - 12:00 | ส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิด (Open Communication) และความปลอดภัยทางจิตวิทยา (Psychological Safety) โดยประยุกต์ใช้การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา (Assertive Communication) และการสื่อสารอย่างสันติ (Non-Violent Communication) ที่จะช่วยให้ผู้เข้าอบรมสามารถแบ่งปันความคิดได้มากขึ้น โดยที่เคารพผู้ฟังหรือผู้อื่นในเวลาเดียวกัน |
13:00 - 14:30 | ฝึกฝนใช้เครื่องมือและเทคนิคการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านสถานการณ์หลากหลายที่เจอบ่อยในองค์กร โดยเครื่องมือและเทคนิคเหล่านี้สามารถใช้ได้จริง ที่จะช่วยผู้เข้าอบรมก้าวข้ามอุปสรรคและแก้ไขปัญหาการสื่อสารในองค์กร |
14:45 - 16:00 | พัฒนาการสื่อสารภายในแผนกและระหว่างแผนก (Intra-Interdepartmental Communication) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกัน และลดการทำงานแบบแยกส่วน (Silo) ที่ขัดขวางความสำเร็จของการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงาน |
การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาคืออะไร และทำไมถึงสำคัญ?
การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา (Assertive communication) เป็นลักษณะการสื่อสารที่เน้นการแสดงออกถึงความคิดเห็น ความรู้สึก และความต้องการของตนเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาอย่างซื่อสัตย์และเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งมีความต่างจากการสื่อสารอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบอ่อนน้อม (Passive communication) และการสื่อสารแบบก้าวร้าว (Aggressive Communication)
ทำไมต้องการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา?
-
แสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง: ช่วยให้แต่ละคนสามารถแสดงออกถึงความคิดเห็น ความรู้สึก และความต้องการของตนได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา
-
เสริมพลังให้แต่ละคน: เสริมสร้างความมั่นใจในการแสดงออกถึงความคิดเห็น ทำให้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันไอเดีย และยืนยันความต้องการของตน เป็นการสร้างเสริมความภูมิใจในตัวเองซึ่งทำให้แต่ละคนรู้สึกมีพลังและความมั่นคงในทีม
-
สร้างความสัมพันธ์ในที่ทำงาน: ส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีและกระตุ้นการสนทนาอย่างเปิดเผยและซื่อสัตย์ (Open & Honest Communication) ทำให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีในทีม
-
เพิ่มผลผลิตของงาน: สร้างความเข้าใจที่ดีของงาน เป้าหมาย และความคาดหวัง ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น เนื่องจากสมาชิกทีมสามารถปรับทิศทางทำงานของตนไปในทิศทางเดียวกันได้ด้วยความเข้าใจร่วมกัน