Facilitation Skills for Productive Group Conversation
ผู้นำการสนทนาแทนผู้นำการสั่งงาน
"สร้างผลลัพธ์ของงานด้วยผู้นำการสนทนาอย่างมีส่วนร่วมแทนการออกคำสั่ง"
เนื้อหา 30%
กิจกรรมกลุ่ม 40%
Demo ตัวอย่าง 30%
-
ผู้จัดการ
-
หัวหน้าทีม
จำนวนผู้เข้าร่วม
20 คน
Context/Introduction: ผลลัพธ์ของงานที่ได้จากการประชุมหรือหลักสูตรอบรมเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่แสดงให้เห็นว่าการสนทนานั้น ๆ ประสบความสำเร็จ แต่ความสำเร็จก็ไม่ได้เกิดจากหัวหน้างานหรือเทรนเนอร์ที่เก่ง ๆ เท่านั้น “การมีส่วนร่วม” ของทุกคนในการสนทนานั้นเองที่เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ จะดีกว่าไหมหากองค์กรของคุณมีตัวละคร “ผู้นำกระบวนการ” หรือ “Facilitator” ที่จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างวงสทนาที่ทำให้คนพูดคุยกัน ทำงานร่วมกัน และเรียนรู้ร่วมกันให้มีประสิทธิภาพได้สูงมากขึ้น MindDoJo เห็นความสำคัญของผู้นำกระบวนการ จึงได้นำเสนอหลักสูตรนี้เพื่อที่จะสร้าง Facilitator ในทีมของคุณซึ่งอาจจะเป็นผู้จัดการหรือใครก็ได้ในทีม ที่มีีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และการทำงานที่ดี ร่วมกับสร้างกระบวนการการสนทนาที่เหมาะสมสำหรับโจทย์นั้น ๆ ที่องค์กรของคุณกำลังเจออยู่ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ตามที่คุณต้องการ
Reason Why:
Solution Outcomes
ผลลัพธ์จากหลักสูตรการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยทำให้คนในองค์กรมีทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อดึงศักยภาพการทำงานของคนในทีมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ไม่มีการประชุมที่น่าเบื่ออีกต่อไป: ผู้นำกระบวนการจะเปลี่ยนการประชุมจากการฟัง เป็นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าประชุม โดยจะช่วยกันคิดคำตอบและตัดสินใจร่วมกัน จนเกิดผลลัพธ์หลังจากการประชุม
ผู้นำที่มีบทบาทการนำกระบวนการ: ผู้นำที่ได้เข้าร่วมหลักสูตรนี้จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการสนทนา การประชุม หรือแม้กระทั่งหลักสูตรอบรมที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ดังที่ผู้นำทุกคนต้องการอย่างแท้จริงผ่านการมีส่วนร่วมของทุก ๆ คน
ทีมมีความผูกพันกับการตัดสินใจของสายงานมากยิ่งขึ้น: ทักษะการนำกระบวนการจะทำให้สมาชิกในทีมได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนมุมมองของตนเองในบรรยากาษที่ปลอดภัยซึ่งจะสร้างโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจและรู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ลดเวลาคุย เพิ่มประสิทธิภาพของงาน: ทักษะการนำกระบวนการจะทำให้ทีมเข้าใจในสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่ เมื่อทุกคนเข้าใจเป้าหมายที่มีร่วมกันก็จะสามารถนำไปใช้ในการทำงานต่อได้อย่างถูกต้อง และลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดจากความไม่เข้าใจ
ขั้นตอนและกระบวนการการเรียนรู้: Facilitation Skill for Productive Group Conversation
เวลา | เนื้อหาและกิจกรรม |
---|---|
09:00 - 10:15 | เข้าใจหลักการเกี่ยวกับทักษะการนำกระบวนการ (Facilitation Skills) และสร้างแนวคิดของผู้นำกระบวนการ (Facilitator Mindset) ผ่านกิจกรรมการตัดสินใจของทีม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกิจกรรมเพื่อให้เห็นถึึงแนวทางของทักษะการนำกระบวนการ (Facilitation Checklist) |
10:30 - 12:00 | จำลองสถานการณ์การสนทนาด้วยทักษะการนำกระบวนการ (Facilitating Effective Meeting) เพื่อสร้างผลลัพธ์ร่วมกันตามที่เป้าหมายของทีมกำหนด เพื่อให้เข้าใจบทบาทของผู้เข้าร่วมสนทนา และอภิปรายแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของทุก ๆ คนในกระบวนการ |
13:00 - 14:30 | ประยุกต์ใช้กระบวนการของทักษะกระบวนกร (Facilitation Process) พร้อมทั้งรูปแบบการคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) และการคิดเอกนัย (Convergent Thinking) เพื่อเข้าใจกระบวนการและการนำไปปรับใช้สำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งเครื่องมือและวิธีการนำกระบวนการ (Facilitation Tools & Methods) ที่จะช่วยทำให้การสนทนามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
14:45 - 16:00 | จำลองการใช้ทักษะการนำกระบวนการ (Facilitation Demo) เพื่อเห็นถึงสถานการณ์จริงที่อาจจะเกิดขึ้นในด้านการนำกระบวนการ การใช้เครื่องมือ และบทบาทของผู้เข้าร่วมการสนทนา พร้อมทั้งอีกทั้งแลกเปลี่ยนเทคนิคเพิ่มเติมที่จะเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อจะต้องเป็นผู้นำกระบวนการ (Facilitator) |
ทักษะการนำกระบวนการ (Facilitation skills) คือ ความสามารถและเทคนิคที่ใช้เพื่อสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสนทนาของทีม ที่เปลี่ยนบทบาทจากการรับฟังเป็นการมีส่วนร่วมของทุกคน โดยทักษะการนำกระบวนการจะลดบทบาทของการเป็นผู้นำให้เป็นผู้สนับสนุนและช่วยเหลือ หรือ ผู้นำกระบวนการ (Facilitator) ที่ทำให้ให้การสนทนาเป็นไปตามเป้าหมายและเกิดผลลัพธ์ดังที่ทีต้องการในยท้ายที่สุด
แนวทางและวิธีการคิดที่สำคัญที่จะทำให้กระบวนการของการนำกระบวนการชัดเจนมากยิ่งขึ้น จะมีการคิดอยู่ 2 ปรเภทสำคัญ ได้แก่
-
Divergent Thinking (ความคิดแบบอเนกนัย หรือ การคิดแบบหลากหลาย)
คือ กระบวนการคิดที่ให้เส้นทางหลายทางและตัวเลือกมากมาย มุมมองการคิดนี้มุ่งไปที่ความคิดสร้างสรรค์และความคิดที่หลากหลาย โดยทุก ๆ คนในวงสนทนาจะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด ซึ่งกระบวนการนี้จะไม่จำกัดปริมาณ แต่จะเน้นสร้างการมีส่วยร่วมให้ได้มากที่สุด หากองค์กรใดมีความปลอดภัยทางจิตวิทยาสูงจะช่วยทำให้การคิดนี้มีประสิทธิภาพและได้ไอเดียจากทุกคนได้มากที่สุด
-
Convergent Thinking (ความคิดแบบเอกนัย หรือ การคิดแบบหนึ่งเดียว)
คือ เป็นกระบวนการคิดที่เน้นการหาคำตอบหรือทางออกร่วมกัน โดยใช้ข้อมูลและข้อสรุปที่มีอยู่เพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้องหรือเหมาะสมที่สุดผ่านการร่วมกันตัดสินใจ โดยเมื่อทุก ๆ คนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากไอเดียที่หลากหลายแล้ว ผู้นำกระบวนการจะมีบทบาทสำคัญในการจัดการข้อมูลจากไอเดียของทุกคน เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมายิ่งขึ้น และนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจที่จะเป็นผลลัพธ์สำคัญของการสนทนานั้น ๆ
ดังภาพแผนผังกระบวนการคิดที่จะทำให้เห็นและเข้าใจกระบวนการของการนำกระบวนการได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ในกระบวนการสนทนานั้นอาจจะมีการใช้การคิดแบบ Divergent และ Convergent ที่ไม่จำกัด โดยในทุก ๆ กระบวนการมักจะเริ่มจาก Divergent Thinking และจบด้วยผลลัพธ์จาก Convergent Thinking ก่อนที่จะนำผลลัพธ์นี้มาอภิปรายใหม่ด้วยการคิดแบบ Divergent Thinking และ Convergent Thinking ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำกระบวนการจะออกแบบกระบวนการอย่างไร เพื่อทำให้ทุก ๆ คนได้ผลลัพธ์ที่มาจากเป้าหมายของทุกคนที่มีร่วมกัน